กิจกรรม 31 ม.ค. - 4 ก.พ. 2554 คะแนน 110 คะแนน

-ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสืบค้นเพื่อหาแนวทางอธิบายข้อสอบ O-net 25 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 12 ข้อ โดยเพิ่มบทความและทำในหน้าแรกของ Blog ตนเอง





ตอบ  2
อธิบายข้อสอบ
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี

ชนิดของปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมีนั้นสามารถจำแนกได้เป็นหลายชนิดและประเภท โดยหลักในการจำแนกนั้นขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ในการจัดกลุ่มจำแนก แต่ส่วนมากแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
  • ปฏิกิริยาการรวมตัว หรือการสังเคราะห์ (Combination reaction หรือ synthesis) คือการที่สารบริสุทธิ์หรือสารประกอบทางเคมี รวมสารเข้าด้วยกันและก่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ซับซ้อนกว่า
โครงสร้าง: A+Z → AZ
ตัวอย่าง: N2 + 3H2 → 2NH3
  • ปฏิกิริยาการสลายตัว หรือการวิเคราะห์ (Decomposition reaction หรือ analysis) คือการที่สารประกอบสลายตัวมาเป็นสารประกอบหรือสารบริสุทธิ์ที่เล็กกว่า
โครงสร้าง: AZ → A+Z
ตัวอย่าง: 2H2O → 2H2 + O2
  • ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว (Single displacement reaction หรือ substitution) คือการที่สารบริสุทธิ์ถูกแทนที่ด้วยสารประกอบ
  • ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่ (Double displacement reaction)
  • ปฏิกิริยาสะเทิน (Combustion)



ตอบ 2
อธิบายข้อมูล
ในทาง เคมี สารละลาย (อังกฤษ: solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวทำละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวถูกละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำ
สารละลายอุดมคติ (ideal solution) คือการที่ปฏิกิริยาระหว่าง โมเลกุล ของตัวทำละลายกระทำซึ่งกันและกันมีค่าเท่ากับปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย แล้วคุณสมบัติของสารละลายในอุดมคติสามารถคำนวณได้โดยผลรวมเชิงเส้น (linear combination) ของคุณสมบัติของส่วนประกอบของมัน
ตัวทำละลาย (solvent) ตามความหมายแบบเดิมคือ สารในสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย ถ้าทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีปริมาณเท่ากัน (เช่น สารละลายมี เอทานอล 50% และ น้ำ 50%) คำจำกัดความเกี่ยวกับตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะมีความสำคัญน้อยลง แต่โดยทั่วไปสารที่มีปริมาณมากกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นตัวทำละลาย



ตอบ 4
อธิบายข้อมูลผลกระทบจากฝนกรด
ฝนกรดจะทำปฏิกิริยาเคมีกับวัตถุใด ๆ ที่มันสัมผัส กรดคือสารเคมีใด ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ โดยจะจ่ายอะตอมไฮโดรเจน (hydrogen: H) ออกไป ความเป็นกรดของสารใด ๆ เกิดจากการที่มีอะตอมไฮโดรเจนอิสระมากมายเกิดขึ้นจากการละลายสารนั้น ๆ ในน้ำ การวัดค่าสารที่เป็นกรดเราใช้มาตรา pH เป็นหน่วยในการวัด โดยจะมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 0 ถึง 14 การที่สารใด ๆ นั้นจะเป็นกรดได้ นั้นหมายถึงสารนั้น ๆ จะต้องมีค่า pH ตั้งแต่ 1 ถึง 6 โดยค่ายิ่งน้อยเท่าไหร่ หมายถึงยิ่งเป็นกรดแก่มากเท่านั้น ในทางกลับกัน สารที่มีค่า pH ตั้งแต่ 8 ถึง 14 เราจะเรียกว่าเบส (bases หรือ alkalis) โดยสารเหล่านี้จะทำการรับอะตอมไฮโดรเจนแทน น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH เป็น 7 กล่าวคือไม่ได้เป็นกรด และเป็นเบส เราเรียกสารแบบนี้ว่า สารที่เป็นกลาง โดยทั่วไปแล้วถ้าฝน หิมะ หรือหมอกที่มีค่า pH น้อยกว่า 5.6 เราจะถือว่าฝน หิมะ หรือหมอกเหล่านี้เป็นพิษ เมื่อใดก็ตามที่กรดรวมตัวกับเบส เบสจะทำให้ความเป็นกรดลดน้อยลงมาได้ ซึ่งฝนในบรรยากาศปกติจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ อยู่แล้ว มักจะทำปฏิกิริยากับเบสอื่น ๆ ในธรรมชาติทำให้เกิดสมดุลขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ปริมาณกรดในบรรยากาศเพิ่มขึ้น จึงทำให้สมดุลตรงนี้เสียหายไป จึงทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ กับสภาพแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่ดิน น้ำ สัตว์ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างของมนุษย์เอง

 ผลกระทบที่มีต่อดิน

ฝนกรดจะทำการละลายและพัดพาปุ๋ยและสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นไม้ไป นอกจากนี้แล้วอาจจะยังละลายสารพิษอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในดิน เช่นอะลูมิเนียม (aluminum: Al) และปรอท (mercury: Hg) โดยพัดพาสารเหล่านี้ลงไปในแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายกับระบบนิเวศน์ในน้ำต่อไป

ผลกระทบที่มีต่อต้นไม้

นอกจากต้นไม้จะได้รับผลกระทบจากการที่สารอาหารในดินถูกชะล้างไปแล้ว ฝนกรดเหล่านี้ยังเป็นอันตรายต่อใบของพืชด้วย โดยการกัดกร่อนใบ ทำให้เกิดรูโหว่ ทำให้พืชขาดความสามารถในการผลิตอาหารจากการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis: ความสามารถในการสร้างอาหารของพืชโดยใช้น้ำ ออกซิเจน และแสงเป็นวัตถุดิบ) นอกจากนี้แล้วเชื้อโรคต่าง ๆ อาจทำอันตรายกับพืชได้โดยเข้าผ่านทางแผลที่ใบ ทำให้ต้นไม้อ่อนแอต่อสภาวะอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความร้อน ความเย็น หรือความแห้งแล้ง และสามารถทำให้ต้นไม้ยืนต้นตายจากรากขึ้นไปถึงใบ เพราะแร่ธาตุในดิน เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น โดนชะล้างจากฝนกรด ทำให้ต้นไม้ไม่มีแร่ธาตุจะใช้

 ผลกระทบต่อการเกษตร

 ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ

เมื่อฝนกรดตกลงมาและถูกดูดซึมลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ ได้โดยง่าย น้ำบริสุทธิ์ในธรรมชาติทั่วไป มักเป็นกรดอ่อน ๆ หรือเบสอ่อน ๆ โดยค่า pH จะอยู่ที่ประมาณ 6 – 8 อย่างไรก็ตามฝนกรดอาจทำให้ค่า pH ในแหล่งน้ำบางแหล่งลดลงต่ำกว่านั้น ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำนั้น ๆ รวมไปถึงความสามารถในการละลายออกซิเจนในน้ำที่ลดน้อยลง เมื่อน้ำไม่สามารถละลายออกซิเจนไว้ได้ สิ่งมีชีวิตใต้น้ำก็ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติจึงต้องล้มตายไป ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับระบบนิเวศน์ โดยสิ่งมีชีวิตทั่วไปจะเริ่มล้มตายเมื่อค่า pH เริ่มลดลงต่ำกว่า 6.0 ไข่ปลาจะไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้เมื่อค่า pH ลดลงถึง 5.0 และเมื่อใดก็ตามที่ค่า pH ของน้ำลดลงต่ำกว่า 4.5 แหล่งน้ำนั้นจะไม่สามารถค้ำจุนสิ่งมีชีวิตใด ๆ ได้อีก
สัตว์บกเองก็ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากแหล่งน้ำที่เป็นกรด หอยทากที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่เป็นกรดจะเกิดปัญหากับเปลือกหอยของมัน ทำให้เปลือกไม่แข็งแรง และเมื่อนกกินหอยทากเหล่านี้เข้าไป ส่งผลให้นกขาดสารแคลเซียม ก่อให้เกิดปัญหาเปลือกไข่บางในนกบางชนิดอีกด้วย

 ผลกระทบที่มีต่อสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์


ภาพความเสียหายจากฝนกรดที่ปราสาทลินคอล์นในอังกฤษ ทำให้เกิดก้อนปูนปูดขึ้นมาจากเนื้อหิน
และปัญหาตามมาคือเกิดปลวกขึ้นตามไม้จากสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์
ฝนกรดอาจทำความเสียหายอย่างรุนแรงกับสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือปูนที่ถูกฝนกรดละลายออกมา ทำให้เกิดความเสียหายที่ยากจะซ่อมแซมได้ในบางกรณี ซึ่งสิ่งนี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในการปกป้องสิ่งปลูกสร้างเก่า ๆ และสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ เช่น วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) เป็นต้น

 ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

แหล่งน้ำที่เป็นกรดไม่ก่อให้เกิดปัญหากับมนุษย์เท่าไรนัก ไม่มีปัญหาอะไรถ้าเราจะว่ายน้ำในทะเลสาบที่เป็นกรด แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่ความเป็นกรดของน้ำ หากแต่เป็นเพราะสารพิษที่ละลายมาจากดินลงสู่แหล่งน้ำต่างหาก ในสวีเดน มีทะเลสาบมากกว่าหนึ่งหมื่นแห่งที่ได้รับผลกระทบจากฝนกรด ทำให้มีสารปรอทละลายอยู่เป็นจำนวนมาก ประชาชนบริเวณแถบนั้นได้รับการเตือนโดยทางการไม่ให้รับประทานปลาที่จับมาจากแหล่งน้ำเหล่านั้น
สำหรับในอากาศ กรดเหล่านี้อาจรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ ก่อให้เกิดหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและทำให้หายใจได้ลำบาก โดยเฉพาะกับคนที่มีโรคหอบหืด หรือโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ อยู่แล้ว อาการอาจกำเริบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

 ฝนกรด และสภาวะโลกร้อน

เป็นที่น่าแปลกใจที่ฝนกรดกลับมีประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อมในจุดนี้ สารซัลเฟตที่ละลายอยู่ในบรรยากาศสามารถที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์ออกไปจากโลกได้ ทำให้ความร้อนของโลกนั้นเพิ่มขึ้นช้าลง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามลภาวะฝนกรดสามารถช่วยชะลอจุดวิกฤตของสภาวะโลกร้อนออกไปได้หลายสิบปีเลยทีเดียว



ตอบ 1
อธิบายข้อมูล
ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
K = โพแทสเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
KCl = โพแทสเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
NaCl = โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)
H2 = ไฮโดรเจน

แต่ถ้าเปลี่ยนสารตั้งต้นของปฏิกิริยาจากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นน้ำ (H2O) สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้น เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยา ได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
H2O = น้ำ
Mg(OH)2 = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
H2O = น้ำ
NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Ca = แคลเซียม
H2O = น้ำ
Ca(OH)2 = แคลเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน
ประเภทของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีจำแนกได้ 3 ประเภทดังนี้
1. ปฏิกิริยาการรวมตัว (combination) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวมตัวของสารโมเลกุลเล็กรวมกันเป็นสารโมเลกุลใหญ่ หรือเกิดจากการรวมตัวของธาตุซึ่งจะได้สารประกอบ ดังเช่น

2. ปฏิกิริยาการแยกสลาย (decomposition) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการแยกสลายของสารโมเลกุลใหญ่ให้ได้สารโมเลกุลเล็กลง ดังเช่น

3. ปฏิกิริยาการแทนที่ (replacement) เป็นปฏิกิริยาการแทนที่ของสารหนึ่งเข้าไปแทนที่อีกสารหนึ่ง ดังเช่น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึงสิ่งที่จะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ได้แก่
1. ความเข้มข้น สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารละลายที่เจือจาง
2. พื้นที่ผิว ของแข็งที่มีพื้นที่ผิวมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่า
3. อุณหภูมิ ที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
4. ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวคะตะลิสต์ (catalyst) เป็นสารชนิดต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น
ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวันและผลต่อสิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาเคมีเกิดจากสารทำปฏิกิริยากันแล้วได้สารใหม่ ซึ่งสารนั้นคือผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ รอบๆ ตัวเรามีปฏิกิริยาเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่าปฏิกิริยาเคมีมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างยิ่ง
ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน
1. ฝนกรด เมื่อเกิดฝนตกลงมา น้ำ (H2O) จะละลายแก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศตามธรรมชาติ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
เมื่อน้ำละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จะทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ดังสมการ
เมื่อน้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดไหลไปตามภูเขาหินปูนก็จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ในหินปูน และได้สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Ca(HCO3)2) ออกมา ดังสมการ
เมื่อสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตไหลซึมไปตามเพดานถ้ำ น้ำจะระเหยไปเหลือแต่หินปูนเกาะจนกลายเป็นหินย้อยที่เพดานถ้ำ ถ้าสารละลายนี้หยดลงบนพื้นถ้ำ เมื่อน้ำระเหย ไปจะกลายเป็นหินงอกต่อไป
สรุปปฏิกิริยาเคมีในการเกิดหินย้อยและหินงอก
รูปแสดงหินย้อย
2. ปฏิกิริยาโลหะหรืออโลหะกับแก๊สออกซิเจน เมื่อนำธาตุโลหะ เช่น โซเดียม (Na) หรือแมกนีเซียม (Mg) ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน จะทำให้เกิดเปลวไฟสว่างและเกิดสารประกอบ ออกไซด์ของโลหะ ส่วนธาตุอโลหะ เช่น คาร์บอน (C) เมื่อทำปฏิกิริยา กับแก๊สออกซิเจนจะทำให้เกิดเปลวไฟสว่างและเกิดสารประกอบออกไซด์ของอโลหะ
ตัวอย่างสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวของธาตุกับแก๊สออกซิเจน ซึ่งทำให้เกิดเป็นสารประกอบออกไซด์ เช่น
3. ปฏิกิริยาออกไซด์ของโลหะหรืออโลหะกับน้ำ ออกไซด์ของโลหะเมื่อนำมาละลายน้ำจะให้สารละลายเบส ดังตัวอย่าง



ออกไซด์ของอโลหะเมื่อนำมาละลายน้ำจะให้สารละลายกรด ดังสมการ
สารละลายที่ได้คือ สารที่เป็นเบสและสารที่เป็นกรด สามารถตรวจสอบความเป็นกรดและเบสได้โดยใช้อินดิเคเตอร์หรือกระดาษลิตมัส
4. ปฏิกิริยาของโลหะกับน้ำ กรด หรือเบส เมื่อนำโลหะมาทำปฏิกิริยากับน้ำจะได้สารที่มีสมบัติเป็นเบส ดังตัวอย่าง
แต่เมื่อนำโลหะมาทำปฏิกิริยากับกรดจะได้เกลือกับแก๊สไฮโดรเจน ดังตัวอย่าง
และเมื่อนำโลหะบางชนิดมาทำปฏิกิริยากับเบสจะได้เกลือกับน้ำเกิดขึ้น

5. ปฏิกิริยากรดกับเบส เมื่อนำสารละลายกรดกับสารละลายเบสมาทำปฏิกิริยากันจะได้เกลือกับน้ำ ดังตัวอย่าง
6. ปฏิกิริยากรดกับสารคาร์บอเนต สารประกอบคาร์บอเนตเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังตัวอย่าง



ตอบ 2
อธิบายข้อมูล
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป
   

          เลขอะตอม (Atomic number)   หมายถึง  ตัวเลขที่แสดงถึงผลรวมจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ  ซึ่งมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน  บางครั้งใช้สัญลักษณ์  Z
          เลขมวล  (Mass  number)  หมายถึงตัวเลขที่แสดงถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน บางครั้งใช้สัญลักษณ์  A
                                                                            
A  =  Z  +  n  (จำนวนนิวตรอน)
          เช่น       บอกได้ว่า  ธาตุ  มีเลขอะตอม  15  ( โปรตอน  =  15,  อิเล็กตรอน  =  15 )
                                                             มีเลขมวล  31  (นิวตรอน  =  16)      
                                                            เนื่องจากจำนวนนิวตรอน  เลขมวล  เลขอะตอม
                                                                                                    =  31  -  15     =  16
                           ดังนั้นจะได้ว่า     ===>     P  =  15 , e  =  15 , n  =  16 
                                                                  ===>     P =  19 , e  =  19  ,  n  =  20
                                                                    ===>     P =  92 , e  =  92  ,  n  =  143
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่  X  คือ  สัญลักษณ์ธาตุ
            Z  คือ  เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
            A  คือ  เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
สูตร   A = Z + N
โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน
อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้า (จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน)


ภาพที่ 7 การคำนวณหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ตัวอย่างที่ 1 การหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ดังนั้น อะตอมของธาตุปรอท (Hg)
           มีจำนวนโปรตอน = 80 อนุภาค
           อิเล็กตรอน = 80 อนุภาค
           และนิวตรอน = 201 - 80 = 121 อนุภาค
ตัวอย่างที่ 2 การหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ดังนั้น อะตอมของธาตุแคลเซียม (Ca)
           มีจำนวนโปรตอน = 20 อนุภาค
           แคลเซียม +2 หมายถึง มีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน 2 อนุภาค
           อิเล็กตรอน = 20 - 2 = 18 อนุภาค
           และนิวตรอน = 40 - 20 = 20 อนุภาค
ตัวอย่างที่ 3 การหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ดังนั้น อะตอมของธาตุออกซิเจน (O)
           มีจำนวนโปรตอน = 8 อนุภาค
           ออกซิเจน -2 หมายถึง มีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอน 2 อนุภาค
           อิเล็กตรอน = 8 + 2 = 10 อนุภาค
           และนิวตรอน = 16 - 8 = 8 อนุภาค


ตอบ 4
อธิบายข้อมูล เลขอะตอมและหมายเลขมวล
After reading this section you will be able to do the following: หลังจากอ่านต่อไปนี้ส่วนที่คุณจะสามารถทำ
  • Define and determine the atomic number of an atom. กำหนดและกำหนดเลขอะตอมของอะตอม
  • Define and determine the mass number of an atom. กำหนดและกำหนดจำนวนมวลของอะตอม
What is an atom's atomic number? เลขอะตอมของอะตอมคืออะไร
The number of protons in the nucleus of an atom determines an element's atomic number. อะตอมจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมจะกำหนดจำนวนขององค์ประกอบ In other words, each element has a unique number that identifies how many protons are in one atom of that element. ในคำอื่น ๆ แต่ละองค์ประกอบมีหมายเลขเฉพาะที่ระบุถึงจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุที่ For example, all hydrogen atoms, and only hydrogen atoms, contain one proton and have an atomic number of 1. ตัวอย่างเช่นทุกอะตอมไฮโดรเจนและอะตอมไฮโดรเจนเท่านั้นและมีหนึ่งโปรตอนมีเลขอะตอมของ 1 All carbon atoms, and only carbon atoms, contain six protons and have an atomic number of 6. ทุกอะตอมคาร์บอนเพียงอะตอมคาร์บอนมีโปรตอนหกและมีเลขอะตอมของ 6 Oxygen atoms contain 8 protons and have an atomic number of 8. อะตอมออกซิเจนมี 8 โปรตอนและมีเลขอะตอมของ 8 The atomic number of an element never changes, meaning that the number of protons in the nucleus of every atom in an element is always the same. เลขอะตอมของธาตุเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีความหมายว่าองค์ประกอบจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมในทุกเสมอกัน
What is an atom's mass number? เลขมวลของอะตอมคืออะไร
All atoms have a mass number which is derived as follows. อะตอมทั้งหมดมีเลขมวลซึ่งได้มาดังต่อไปนี้

Review: Review An element's or isotope's atomic number tells how many protons are in its atoms. หรือองค์ประกอบของเลขอะตอมของไอโซโทปบอกจำนวนโปรตอนในอะตอมของมัน
  1. An element's or isotope's mass number tells how many protons and neutrons in its atoms. องค์ประกอบหรือมวลของไอโซโทปบอกจำนวนโปรตอนและนิวตรอนหลายวิธีในอะตอมของมัน



ตอบ  3
อธิบายข้อมูล




ตอบ  4
อธิบายข้อมูล 
การเกิดสารประกอบโคเวเลนต์
                 เกิดจากอะตอมของอโลหะทำปฏิกิริยากับอะตอมของอโลหะ  โดยอะตอมของอโลหะจะนำอิเล็กตรอนวงนอกมาใช้ร่วมกันเป็นคู่ ๆ
เพื่อให้อยู่สภาวะที่เสถียร และจะอยู่เป็นโมเลกุลชัดเจน
ว่า  1 โมเลกุลมีกี่อะตอม
   
ตารางที่ 4    แสดงความต้องการใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมของธาตุอโลหะ เพื่อให้อยู่ในภาวะเสถียร
   
ธาตุอโลหะ
ธาตุหมู่
จำนวนอิเล็กตรอน
วงนอก
จำนวนอิเล็กตรอน
ที่ต้องการทำให้เสถียร(e-ใช้ร่วม)
H
 
1
1
F
7
7
1
Cl
7
7
1
Br
7
7
1
I
7
7
1
O
6
6
2
S
6
6
2
N
5
5
3
P
5
5
3
C
4
4
4
     
      
ตัวอย่างที่ 1        อะตอมของธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม รวมกับอะตอมของธาตุออกซิเจน 1 อะตอมได้น้ำ  1 โมเลกุล
    
ตัวอย่างที่ 2     อะตอมของธาตุคาร์บอน 1 อะตอม รวมกับอะตอมของธาตุไฮโดรเจน 4 อะตอม ได้แก๊สมีเทน (CH4) 1 โมเลกุล
    
    
                    แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมในโมเลกุลที่เกิดจากอะตอมคู่หนึ่งนำอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน เป็นคู่ ๆ เรียกว่า พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) สารประกอบโคเวเลนต์จึงอยู่เป็นโมเลกุล   แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มากเท่ากับแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวก
กับไอออนลบในผลึกของสารประกอบไอออนิก  ทำให้จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบโคเวเลนต์ต่ำกว่าสารประกอบไอออนิก
   
     
3.2  สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์
                สารประกอบโคเวเลนต์ มีสมบัติดังนี้
           1. มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส เช่น
                 - สถานะของเหลว เช่น น้ำ  เอทานอล  เฮกเซน 
                - สถานะของแข็ง เช่น น้ำตาลทราย (C12H22O11), แนพทาลีนหรือลูกเหม็น (C10H8)
                 - สถานะแก๊ส เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), แก๊สมีเทน (CH4), แก๊สโพรเพน (C3H8)
          2. มีจุดหลอมเหลวต่ำ หลอมเหลวง่าย
          3. มีทั้งละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ เช่น เอทานอลละลายน้ำ แต่เฮกเซนไม่ละลายน้ำ
          4. สารประกอบโคเวเลนต์ไม่นำไฟฟ้า เนื่องจากอยู่เป็นโมเลกุล  และโมเลกุลเป็นกลาง   เมื่อละลายน้ำจะไม่นำไฟฟ้า แสดงว่า
อยู่เป็นโมเลกุลไม่แตกตัวเป็นไอออน
3. 3   สารประกอบโคเวเลนต์ที่พบในชีวิตประจำวันและการใช้ประโยชน์
     
ตารางที่ 5    แสดงประโยชน์ของสารประกอบโคเวเลนต์
      
สารประกอบโคเวเลนต์
สูตรโมกุล
การใช้ประโยชน์
แก๊สแอมโมเนีย
NH3
- ใช้สูดดมแก้อาการวิงเวียนศีรษะ  เป็นลม
- ใช้ทำปุ๋ยให้ธาตุไนโตรเจน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
CO2
- ใช้ทำน้ำแข็งแห้ง ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็น
- ใช้ผสมทำน้ำอัดลม
แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
SO2
- ชาวสวนลำไยใช้อบฆ่าเชื้อราผลลำไย
   แต่ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้กรดติดผิว
แก๊สโพรเพน
C3H8
- ใช้เป็นแก๊สหุงต้มโดยผสมกับแก๊สบิวเทน(C4H10)
- ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติก
กรดไฮโดรคลอริก  (กรดเกลือ)
HCl
- ใช้ล้างสนิม   ผลิตผงชูรส
ยูเรีย
NH2CONH2
- ใช้ทำปุ๋ยให้ธาตุไนโตรเจนบำรุงลำต้นและใบ
กลูโคส
C6H12O6
- เป็นสารอาหารให้พลังงาน
กรดซัลฟิวริก  (กรดแบตเตอรี)
H2SO4
- แบตเตอรี่
กรดคาร์บอนิก (H2O+CO2)
H2CO3
- กัดหินปูน(เข้มข้น)    น้ำโซดา(เจือจาง)
แนฟทาลีน  (ลูกเหม็น)
C10H8
- ใส่ตู้เสื้อผ้าป้องกันแมลงกัดเสื้อ
แคมเฟอร์  (การบูร)
C10H16O
- ใช้ใส่ตู้เสื้อผ้า
- ทำยาหม่อง ยาแก้เป็นลม
กรดแอซิติก  (กรดน้ำส้ม)
CH3COOH
- ใช้ปรุงรสอาหาร
      
                   สารประกอบโคเวเลนต์มีหลายชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น  NO2  SO2  CO2 ทำให้เกิดฝนกรด
ทำลายอาคารบ้านเรือน ดินเป็นกรด     น้ำมีสภาพเป็นกรด
ซึ่งการใช้สารเคมีทุกชนิด   ต้องใช้ให้ถูกวิธีและระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหา
ต่อสิ่งแวดล้อม



ตอบ 0.3 g/min



ตอบ 5 วัน


ตอบ  50 วินาที

2 ความคิดเห็น:

  1. ทำเต็มที่ แต่มั้ยมี ที่มา
    100 คะแนนพอ ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ควรปรับสีตัวอักษร แต่เนื้อหาดี
    เอาไป 80 คะแนน

    ตอบลบ